ครั้งหนึ่งที่ได้เป็น…ครูบนดอย…
การช่วยเหลือแบ่งปัน เปรียบเสมือนจุดเริ่มต้นเล็กๆ ที่ทำให้คนจำนวนหนึ่งได้มีจุดหมายปลายทางอยู่ที่เดียวกัน มีความตั้งใจอย่างเดียวกันคือเพื่อที่จะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
give
domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init
action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /home/bannokco/domains/bannok.com/public_html/volunteers/wp-includes/functions.php on line 6114newsplus
domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init
action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /home/bannokco/domains/bannok.com/public_html/volunteers/wp-includes/functions.php on line 6114การช่วยเหลือแบ่งปัน เปรียบเสมือนจุดเริ่มต้นเล็กๆ ที่ทำให้คนจำนวนหนึ่งได้มีจุดหมายปลายทางอยู่ที่เดียวกัน มีความตั้งใจอย่างเดียวกันคือเพื่อที่จะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
ในชีวิตของคนเราแต่ละคนย่อมมีความแตกต่างในการดำเนินชีวิตเพราะคนทุกคนต่างต้องทำทุกอย่างเพื่อให้เราได้รับความสุขแต่ความสุขของคนในสังคมใหญ่ย่อมเป็นความสุขที่ต้องแลกด้วยความเหน็ดเหนื่อย ความวุ่นวายและการแข่งขันเพื่อให้เราได้เป็นผู้ที่ได้รับความสุขตามที่ชีวิตเราต้องการแต่หากเรามองอีกมุมหนึ่งของสังคมที่เราไม่เคยได้สัมผัสซึ่งเป็นสังคมที่อาศัยอยู่แบบพึ่งพาธรรมชาติและมีความสุขโดยที่ไม่ต้องแข่งขันไม่จำเป็นต้องต่อสู้เพื่อแสวงหาความสุขในค่านิยมแต่เป็นเพียงความสุขที่เกิดจากความรักความผูกพันของกันและกันในหมู่บ้าน
เมื่อตอนเด็กๆเล็กๆยังไม่ค่อยรู้อะไร คนเรามักจะกล้าที่จะฝันและคิดว่ามันจะเป็นจริงเมื่อตอนเราเป็นผู้ใหญ่ แต่ส่วนมากมันจะดูเป็นไปไม่ได้ ก็เมื่อเราเป็นผู้ใหญ่เนี่ยเหละ ทำไมกันน่ะ!!
หลายครั้งในชีวิตเหลือเกิน ที่สับสนว่าเรื่องราวที่เกิดขึ้น มันแค่ความบังเอิญ หรือ โชคชะตา ที่นำพาให้ชีวิตได้พบกับสิ่งมหัศจรรย์ ในช่วงเวลาที่ประจวบเหมาะกันพอดิบพอดี
หากค่าของความสุขถูกแปลงค่ามาเป็นหน่วยของเงินตรา จะมีค่าประมาณเท่าไหร่กัน จะมากหรือจะน้อยกว่าเงินตราทั้งหลายที่มีอยู่บนโลกนี้ แล้วคนที่จะได้ขึ้นแท่นผู้ที่มีความสุขที่สุดในโลก จะใช่คนๆเดียวกันที่กำลังขึ้นแท่นคนที่รวยที่สุดในโลกตอนนี้หรือเปล่า?
จะมีอะไรสุขใจเท่ากับการต้อนรับครูอาสาผู้ร่วมอุดมการณ์ สร้างฝัน ปันรัก แก่น้องๆ เมื่อพร้อมทั้งกายและใจ เราจะสร้างฝันนั้นพร้อมๆ กัน เด็กๆ ต่างออกมารอรับครูอาสา สุขใจกับสิ่งที่ได้เจอ ทุกคนมีน้ำใจช่วยเหลือและต้อนรับเหล่าครูอาสาเป็นอย่างดี
สองมือที่ตีกระทบหนังกลอง……. ด้วยห้วงทำนองเป็นจังหวะเพลง ซ้ำไปซ้ำมา ประกอบกับเสียงฉาบและการเป่าจิ้งหน่อง ขบวนผู้คนแต่งกายในชุดชนเผ่าลาหู่ ล้อมวงเป็นวงกลม ประกอบด้วยท่าเต้นย้ำเท้าไปตามจังหวะกลอง เข้ากับทำนองได้เป็นอย่างดี “จะคึ” หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ปอเตเว” คณะครูบ้านนอกและหงะปา (พ่อ) หงะเอ (แม่) รวมทั้งเด็ก ๆ เยาวชนในชุดชนเผ่าลาหู่นะ ออกมาเต้นรำกันอย่างสนุกสนานซึ่งเคลือบแฝงด้วยวัฒนธรรมที่ไม่เสื่อมคลายของชนเผ่าลาหู่ ในคืนนี้คืนวันอำลาครูบ้านนอก รุ่น 77 ณ บ้านห้วยลุหลวง เป็นคืนที่สี่แล้วสินะที่ครูบ้านนอกเข้าไปอาศัยและทำกิจกรรมกับเด็ก ๆ และชาวบ้าน มันช่างรวดเร็วยิ่งนัก ครูและเด็ก ๆ ไม่อยากให้ถึงวันนี้เลยมันช่างเศร้าเสียจริงเมื่อนึกถึงวันพรุ่งนี้ที่ต้องจากกัน น้ำตาสักกี่หยาดหยดที่ไหลรดแก้มมันเป็นน้ำตาแห่งการลาจากแห่งความประทับใจที่ตราตรึงผู้มาเยือนได้เป็นอย่างดี หากมองย้อนกลับ ไปตั้งแต่วันแรกที่มาถึง คณะครูก็ได้สัมผัสถึงการต้อนรับที่แสนจะอบอุ่นเป็นกันเองของหมู่บ้านที่ เข้าไปพักพิง ซึ่งเป็นวิสัยดั้งเดิมของชนเผ่า ลาหู่ ที่ต้อนรับผู้มาเยือน ตามธรรมเนียมวันแรกที่มาถึงครูต้องเข้าพักบ้านเด็ก ๆ และอยู่รวมกันเป็นครอบครัวเดียวกันกับชาวบ้าน เพื่อสร้างความกลมเกลียวแน่นแฟ้นด้านความสัมพันธ์ได้เป็นอย่างดี มื้อเย็นมื้อนี้เป็นมื้อแรกที่ครูต้องแสดงฝีมือในการทำอาหาร และรับประทานอาหารร่วมกับคนในครอบครัวเป็นมื้อแรก กลางคืนก็เป็นกิจกรรมสันทนาการที่ครูบ้านนอกทำร่วมกับเด็ก ในทุก ๆ คืนและทุก ๆ วัน ที่คณะครูบ้านนอกเข้าไปทำ กิจกรรม สร้างรอยยิ้มและเสียงหัวเราะให้กับครูและเด็ก ๆได้เป็นอย่างดีจากจุดนี้เองเป็นการสร้างความสัมพันธ์ทางด้านจิตใจของทั้ง […]
“กี่ยอดดอยที่เหยียบย่ำมามันมีรอยเท้าเล็ก ๆ ของเด็กที่เปรียบเสมือนอนาคตของชาติ”
คนเราไม่จำเป็นต้องจบสายการเรียนอาชีพครูโดยตรงเพียงแต่เรามีใจรักที่จะเป็นผู้ถ่ายทอด ผู้ให้ความรู้ เท่านี้ก็เกินพอสำหรับผู้รับ
ที่มาของคำว่า “รัก” สาเหตุหนึ่งมาจากการ “เติมเต็ม” และ “แบ่งปัน” ซึ่งการ “แบ่งปัน” นี้สามารถทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งปันสิ่งของ แบ่งปันความรู้ และอื่นๆอีกมากมาย ที่เราสามารถทำได้ ส่วนการ “เติมเต็ม”
" ครู " คำนี้ยังคงติดหูและ ยังคงอยู่ในความทรงจำของครูบ้านนอก รุ่น 82 หลายคน ณ หมู่บ้านลีผ่าที่ครู กับ เด็ก ๆภาพความประทับใจ ยังคงมิลืมเลือน
มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ได้รับเรียนรู้ ได้พบเห็น ได้รู้สึก แม้ว่าจะยังไม่อยากจาก แต่กาล เวลาก็ชักนำให้เราต้องจากกันไป