กองทุนครูบ้านนอก

กองทุนครูบ้านนอก

ทางโครงการครูบ้านนอก   ขอเชิญชวนผู้ใหญ่ใจดีทุกท่าน ที่มอบโอกาสสู่เด็ก ๆ ชุมชน และสถานศึกษาที่ห่างไกล โดยร่วมกันสนับสนุน ซึ่งเปรียบเสมือนการได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและสังคมชนบทที่ห่างไกล พร้อม จะพัดและนำพาผู้ที่หอบเอากำลังใจ และความเอื้ออาทรมาสู่ชีวิตเล็กๆเหล่านี้ ชีวิตที่ควรจะมีการเติมเต็มและการให้โอกาสจากคนภายนอกที่มีพร้อมและสมบูรณ์ กว่าอย่างน้อยก็ด้วยเหตุผลที่ว่า   “ เขาคือเพื่อนร่วมผืนดินกับเรา ”

กองทุนครูบ้านนอกจัดตั้งขึ้นเพื่อระดมทุนในการช่วยเหลือ โรงเรียนและชุมชน ในพื้นที่ห่างไกลความความเจริญ  โดยจะทำควบคู่ไปกับกิจกรรมเด็ก ซึ่งกิจกรรมในการช่วยเหลือขึ้นอยู่กับพื้นที่ และงบประมาณที่ได้รับบริจาค โดย การซ่อม/สร้าง จะทำตามกำลังทรัพย์ที่ครูอาสาและผู้ที่ศรัทธาในการทำการ ช่วยเหลือสังคม ได้แบ่งปันไปสู่สังคมชนบท

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อพัฒนาเสริมสร้าง ยกระดับจิตใจ ปลูกฝังจิตสำนึกในงานอาสาสมัครในสังคมไทย
  2. เพื่อจัดตั้งเป็นศูนย์ประสานงานศูนย์ข้อมูลข่าวสาร สำหรับบริษัท หน่วยงานภาครัฐ   รัฐวิสาหกิจ ฯลฯ
  3. เพื่อส่งเสริมให้คนในสังคม ได้เข้ามามีโอกาสเข้ามาสนับสนุนงานกิจกรรมอาสาสมัคร
  4. เพื่อพัฒนาเด็ก และเยาวชน ในพื้นที่ชนเผ่า หรือพื้นที่ห่างไกล
  5. เพื่อสร้างกระแสการให้ และ การทำงานอาสาสมัคร เกิดขึ้นในสังคม
  6. เพื่อส่งเสริมแนวคิดการพักผ่อนในรูปแบบของการเป็นอาสาสมัครและเกิดประโยชน์ ต่อสังคม
  7. ซ่อม / สร้าง / บำรุง สาธารณูปโภค ของโรงเรียน หมู่บ้าน

เป้าหมาย ของ “ กองทุนครูบ้านนอก ”

1.        หลักการในการจัดตั้งกองทุนครูบ้านนอก เพื่อช่วยเหลือชุมชนที่ครูบ้านนอกเข้าไปทำกิจกรรมในเขตพื้นที่ทำงานของ มูลนิธิกระจกเงา

2.        เพื่อ สมทบทุนในการทำค่ายสร้าง หรือการก่อสร้างต่าง ๆ ในส่วนของชุมชนและสถานศึกษาที่ยังขาดแคลนสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ที่มีความจำเป็นโดยการประเมินการก่อสร้างจากงบประมาณที่มีอยู่และร่วม สนับสนุนในการก่อสร้างสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้น เช่นสร้างอาคารเรียน สร้างห้องสมุด สร้างห้องน้ำ สร้างระบบน้ำ ( ปะปาภูเขา )   หรือ การซ่อมแซม ต่อเติม อาคารต่างๆ ของชุมชน

3.        เพื่อสนับสนุนกองทุนภายในโรงเรียนที่ทางคณะครูบ้านนอก เข้าไปทำกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกองทุนอาหารกลางวัน สำหรับเด็ก ๆ ในโรงเรียน เรื่องกิจกรรมทัศนะศึกษา หรือ กิจกรรมพิเศษ ด้านอื่น ๆ

4.        เพื่อสมทบทุนกองทุนวัฒนธรรมของชาวบ้านที่ครูบ้านนอกเข้าไปทำกิจกรรม และเพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึกให้ชาวบ้านรักษ์ และคงไว้ซึ่งประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิมของเผ่าตน โดยการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นมิให้วัฒนธรรมเหล่านั้นเลือนหาย

5.        ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของชุมชนให้มีความเข้มแข็ง   เกิดความสามัคคีร่วมมือร่วมใจในชุมชนขึ้น

scroll to top