12596086_953353348075274_1015952558_n.jpg

เรื่องเล่าครูบ้านนอกตอนที่5

๕.“แกะ ดำ”   รูปพรรณ สัณฐาน   ฉันหยุดหายใจตรงทางเดินเข้าหมู่บ้าน ซึ่งทุกๆคนก็หยุดถ่ายรูปตรงนี้และพักหายเหนื่อย มีชาวบ้าน  คนหนึ่งเดินแบกตะกร้าใส่ของสะพายหลังกำลังเดินลงไปด้านล่าง ดูจากการแต่งกายถ้าเดาไม่ผิดเหมือนจะไปทำสวน ถ้าดูจาก หน้าตาอายุก็คงจะเป็นยายฉันก็ว่าได้ พวกเราทักทายสวัสดีคุณยายด้วยความตื่นเต้น คุณยายก็หันมายิ้ม   ทักทาย พร้อมยืนชูสองนิ้วให้เราได้ถ่ายรูป     การเจอคุณยายเป็นคนแรกทำให้รู้เลยว่า เราทั้ง27ชีวิตจะคุยกับคนที่นี่ไม่รู้เรื่อง เพราะเขาพูดภาษา   มูเซอกัน เอาละแค่คิดก็สนุกแล้วสิ เส้นทางข้างหน้าที่จะเดินย่ำเข้าไปในหมู่บ้านจะเจออะไรนะ ……. ว๊าว!! บ้านที่นี้ทุกหลังทำด้วยไม้ไผ่ ต้นไผ่หนึ่งต้นสามารถนำมาตีให้เป็นซี่เล็กๆแล้วนำมาประกอบเป็นบ้าน ทุกหลังจะยกสูง ต้องเดินบันไดขึ้นไป ถ้าก้าวไม่ดีคุณอาจจะพลาดได้ และมีใต้ถุนที่เราสามารถยืนได้ มองดูรอบๆทุกๆบ้านจะมีรั้วล้อมรอบด้วยไม้ไผ่หมด แต่ ถ้าบ้านไหนที่ฐานะดีหน่อยเขาก็จะสร้างรั้วกับปูนซีเมนต์  แต่ก็มีไม่กี่หลัง ทีมงานนำทางพวกเราไปยังที่พักของผู้ใหญ่บ้านและที่พักของครูอัครเดช ครูอัครเดชเป็นครูประจำหุบเขาลูกนี้ ฉันชักอยากจะเจอแล้วสิ เมื่อไปถึงบ้านของผู้ใหญ่บ้านพวกเราต่างก็ทักทาย ยกมือไหว้ด้วยความดีใจ ทางผู้ใหญ่บ้านก็ต้อนรับเราเป็นอย่างดี ก่อนที่ทีมงานจะปล่อยครูทุกคนไปตามบ้านก็ได้ชี้แจงกันเล็กน้อย ถึงเรื่องต่างๆและเรื่องเวลา สถานที่ ที่เราจะต้องนัดเจอกันในตอนเย็นเพื่อนทำกิจกรรมกลางคืนในวันแรกร่วมกับชาวบ้านที่นี่ ก่อนมาค่ายเราต่างก็รู้กันดีว่าในแต่ละมื้อเราจะต้องประกอบอาหารกินกันเองกับพ่อๆ แม่ๆที่บ้านที่เราต้องไปอยู่ ทีมงานเตรียมอาหารแห้ง หมู ผัก เครื่องปรุงต่างๆมาให้ แจกให้บ้านละหนึ่งชุด พี่สาวที่พักบ้านเดียวกับฉันเอ่ยปากถามฉันว่า พี่สาว: […]

DSC03348.jpg

เรื่องเล่าครูบ้านนอกตอนที่4

  ๔. “วัน เวลา มาบรรจบกัน” เส้นทางเดียวกัน เจ็ดโมงเช้าฉันถึงสถานีขนส่งบ้านฝางอย่างปลอดภัย รีบโทรบอกคนที่บ้านว่าฉันถึงเชียงใหม่แล้ว เดี่ยวพอฉันเข้าเขตที่มีเขามากๆ ทุกคนก็จะติดต่อฉันไม่ได้ วางสายจากที่บ้านฉันกับพี่ใจดีก็แบกกระเป๋าลงไปหาข้าวกิน มีคนเดินลงจากรถมามากมาย ซึ่งน่าดีใจพวกพี่เขาก็เดินทางมาในจุดประสงค์เดียวกับฉัน พี่ใจดีกับฉันเดินเข้าไปถามพี่ๆกลุ่มหนึ่งว่ามาค่ายกันหรือเปล่า ซึ่งคำตอบก็คือใช่ เราเลยรวมกลุ่มร่วมเดินทางกัน ทุกคนทำความรู้จักถามชื่อถามอายุกันใหญ่ ฉันมีข้อเสียอย่างหนึ่งคือฉันคุยไม่เก่งกับคนที่ฉันยังไม่สนิทด้วย แล้วก็ออกจะเกรงใจเวลาจะคุย เลยดูเหมือนฉันเป็นคนเงียบๆกว่าใครๆในกลุ่ม ฉันไม่ได้เงียบกว่าใครในกลุ่มอย่างเดียวนะ ฉันยังอายุน้อยสุดด้วย ฉันตกใจมากที่พี่ๆทุกคนอายุมากกว่าฉันเยอะ และต่างก็เรียนจบมีงานทำกันหมดแล้ว อ้าว!! นี่ฉันเด็กสุดหรอเนี่ยะ ฉันคิดในใจ แต่มันก็ไม่ใช่อุปสรรคของฉัน หลังจากที่ทุกคนแบกข้าวไว้ในท้องมื้อนี้เสร็จ รถทีมงานก็มาจอดรับหน้าสถานีขนส่ง นั่นก็คือจุดนัดพบนั่นเอง ทุกคนที่มาราวนับ20กว่าชีวิต ไม่เคยรู้จักกัน ไม่เคยคุยกันมาก่อน วันนี้เราจะได้ร่วมเดินทางไปในทางเดียวกัน เพราะเส้นทางทำให้เราหลายชีวิตมารู้จักกัน ทั้งที่เราพูดภาษาต่างกัน สีผิวต่างกัน หน้าตาต่างกัน อยู่ในภูมิลำเนาที่ต่างกัน ฐานะต่างกัน แต่ทุกคนดูเหมือนว่าจะพูดคุยเข้ากันได้ด้วยดี ไร้ปัญหา ทีมงานมีรถมาสามคัน ถ้าฉันจำไม่ผิด ฉันได้นั่งรถคล้ายๆเป็นรถกระบะขนของ เพราะมีโครงเหล็กยื่นออกมาท้ายกระบะ อากาศที่นี่ดีมาก นั่งท้ายรถนี่หัวแทบจะหลุดออกจากบ่า ลมพัดเย็นสบาย ส่วนรถก็ขับแบบท้าทายมาก ฉันสนุกกับการนั่งรถร่วมกับพวกพี่ๆมาก ทุกคนคุยกันอย่างเมามันส์ บ่อยครั้งที่ฉันโดนแซวว่าให้พูดเยอะๆหน่อย 555 […]

image062.png

บ้านห้วยนากาด

ข้อมูลพื้นฐาน ชุมชนบ้านห้วยนากาด ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านห้วยนากาด กศน.อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย * ข้อมูลอัพเดท มีนาคม 2559   ประวัติหมู่บ้าน   บ้านห้วยนากาด เป็นชุมชนชาวไทยภูเขาเผ่าอาข่า กลุ่มอู่โล้อาข่า หรือ อาข่าไทย ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์อาข่าที่เข้ามาประเทศไทยเป็นกลุ่มแรก สาเหตุที่เรียกว่าอู่โล้อาข่า หมายถึง ชนเผ่าอาข่าหมวกหัวแหลม เป็นกลุ่มที่เด่นที่สุดในการใส่หมวกอาข่า การตั้งชื่อกลุ่มเป็นไปตามลักษณะการใส่หมวก และอู่โล้อาข่ายังเป็นกลุ่มอาข่าที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศไทย ชาวบ้านห้วยนากาดอพยพครอบครัวมาจากบ้านขาแหย่ง ต.แม่ค้า อ.แม่จัน จ.เชียงราย เข้ามาอาศัยอยู่ที่บ้านห้วยขี้เหล็ก ต.วาวี อ.แม่สรวย ได้ประมาณ 3 ปี แต่มีปัญหาเรื่องที่ทำกินไม่พอ ต่อมามีชาวบ้านประมาณ 3 -4 ครอบครัว ได้ไปสร้างที่ทำกินบริเวณพื้นที่ติดกับลำห้วยนากาด เห็นว่ามีชัยภูมิเหมาะสมที่จะตั้งเป็นชุมชนอยู่อาศัย ชาวบ้านกลุ่มแรกจำนวน 17 ครอบครัว “นายหลวง มาเยอะ” เป็นผู้นำได้ชวนกันย้ายจากบ้านห้วยขี้เหล็กเข้ามาตั้งชุมชน เมื่อปี พ.ศ. 2505 ตั้งชื่อชุมชนตามชื่อแหล่งน้ำว่า “บ้านห้วยนากาด” สำหรับ […]

DSC_0003RE.jpg

เรื่องเล่าครูบ้านนอกตอนที่3

๓.“บ้านนอกเข้ากรุง กรุงเข้าเมืองหนาว” สะพายเป้ เส้นทางไม่ใช่แค่โรยด้วยกลีบกุหลาบ แต่ปัญหาในตอนนี้ของฉันก็คือ ฉันต้องเดินทางคนเดียว อันดับแรกคือฉันต้องจองรถจากกรุงเทพไปยังเชียงใหม่ผ่านทางเว็บไซต์บริษัทรถทัวร์ ซึ่งฉันจะต้องไปลงที่จุดนัดพบที่สถานีขนส่งอำเภอฝาง ซึ่งเป็นที่ที่ฉันไม่เคยไป ไม่เคยรู้จักมาก่อน ฉันไม่รู้จะทำยังไง ฉันพยายามไล่หาเฟชบุ๊คจากรายชื่อผู้สมัครไปเรื่อยๆ แต่ยากจังไม่พบใครเลย จนฉันเข้าหน้าเว็บเพจกิจกรรมมูลนิธิ ฉันเจอผู้เข้าสมัครโครงการคนหนึ่ง จึงได้ทักทายพูดคุยว่าจะเดินทางยังไงได้บ้าง แล้วเดินทางวันไหน โชคดีที่พี่เขาใจดี รับปากจะจองรถเผื่อฉัน พี่เขาเป็นผู้ชาย ในใจฉันก็กลัว แต่ฉันก็หมดหนทางแล้วจริงๆ ครั้งนี้ไม่ค่อยกล้าเดินทางคนเดียว เลยขอเสี่ยงไปกับพี่เขาแล้วกัน แต่ฉันก็คิดบวกมากในตอนนั้น ฉันคิดว่าคนที่เข้ามาสมัครโครงการนี้ เขาจะต้องเป็นคนที่ไว้ใจได้แน่ๆ ฉันเลยบอกแม่ว่าฉันให้ใครจองรถ ไปยังไง พี่เขาเป็นใคร ในความที่พี่เขาอายุมากกว่าฉันเยอะเลย แม่เลยไม่ค่อยจะกังวลอะไรเท่าไหร่ การจองรถกรุงเทพ-ฝาง ก็ผ่านไปด้วยดี ทีนี้ฉันก็ต้องเตรียมสะพายเป้เข้าเมืองหลวงอีกรอบ กรุงเทพเป็นที่ที่ฉันคุ้นเคยดี เพราะช่วงปิดภาคเรียนฉันขึ้นไปทำกิจกรรมกับมหาวิทยาลัยต่างๆบ่อยโดยเฉพาะคณะวิทย์ ของมหาวิยาลัยหนึ่งแถวพญาไท  ฉันเข้าออกเป็นว่าเล่น โดยอาศัยป้าเป็นคนขอแม่อีกเช่นเดิม ฉันไปไหนมาไหนได้ดีเยี่ยมเลยแหละในกรุงเทพ ไม่ว่าจะเป็นมุมไหน ซอกไหน ฉันสามารถนั่งรถไปได้ทุกที และต่อไปนี้ที่ฉันจะเล่ามันเป็นความจริงคือ ฉันไม่สามารถไปไหนมาไหนได้ในบ้านตัวเอง ถ้าถามว่าที่นี่ที่ไหน ตรงนี้ไปยังไง ฉันไม่สามารถตอบได้ เพราะฉันไปไม่ถูกเลยสักที่ พูดง่ายๆว่าฉันหลงในจังหวัดตัวเอง 555 และไม่นานฉันก็จองรถจากบ้านฉันขึ้นกรุงเทพเพื่อไปปักหลักอยู่ที่นั้นสองสามวันก่อนจะเดินทางไปเชียงใหม่ ฉันมีความจริงจะบอกในทุกๆครั้งที่ฉันขึ้นรถไปกรุงเทพฉันมักจะน้ำตาซึมตอนที่พ่อแม่และน้องยืนโบกมือ อยู่ข้างนอกรถ […]

a1_Snapseed.jpg

สร้างสนามเด็กเล่น ศศช.แม่นาวาง

ศศช. บ้านแม่นาวาง เป็น 1 ในพื้นที่การศึกษาที่ทางโครงการฟรีสคูลของทางมูลนิธิกระจกเงาได้ เข้าไปสนับสนุน จัดจ้างครูผู้ช่วย ซึ่งดำเนินการมากว่า 5 ปี  จนเมื่อ เดือน สิงหาคม 2558 ครูได้ลาออกไป ทางครูประจำการ ได้ขอความช่วยเหลือจากทางโครงการได้เข้าไปทำสนามเด็กเล่นให้กับ ศูนย์ฯ เพื่อที่เด็กๆ จะได้มีสนามเด็กเล่น  ในการเข้าไปทำสนามเด็กเล่นครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนจาก ครูบ้านนอกทุกท่าน ทั้งแรงกายและกำลังทรัพย์  ระหว่างวันที่ 19 – 22 กุมภาพันธ์ 2559

rr33.jpg

เรื่องเล่าครูบ้านนอก ตอนที่2

๒.“ความกล้า ภายในใจ” ความกล้าหาญ   บ้านเมืองทุกวันมีข่าวมากมาย ไม่ว่าจะเป็นข่าวสังคมบ้าง ข่าวการเมืองเอย ข่าวบันเทิงก็มี แต่ข่าวที่ ไม่ดีสำหรับฉันเลย คือข่าวก่อการร้ายในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ฉันไม่รู้ว่าคนเหล่านี้ต้องการอะไร ฉันไม่รู้ว่าเขาเป็นใคร ฉันไม่รู้แม้กระทั้งเขาหน้าตาเป็นยังไง แต่ฉันอยากจะถามพวกเขาว่า คุณ ฆ่า ครู ฉันทำไม …..?? ฉันรู้ว่าเด็กที่นั่นก็อยากถามแบบฉันเช่นกัน ตอน6 ขวบ ฉันยอมรับว่าฉันยังเด็กมากในตอนนั้น แต่ตอนนี้ฉันก็อายุสองหลักแล้ว ฉันวางแผนชีวิตไว้ดิบดี วางอนาคตเอาไว้เสร็จสรรพ แรกๆฉันก็ไม่เคยคิดเหมือนกันว่าฉันอยากจะเรียนต่อในสายอาชีพครู แต่สุดท้ายไม่รู้เหมือนกันว่าอะไรดลใจฉันให้อยากเรียนครู คงเป็นเพราะฉันเข้าใจความรู้สึกของครูว่า เมื่อตนมีศิษย์ไม่ใช่เกิดแค่ความภูมิใจแต่เรายังเหมือนมีลูก มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบชีวิตเด็กๆมากมายมหาศาล ที่พวกเขาเหล่านั้นเป็นใครไม่รู้มาอยู่ในกำมือเรา และยิ้มได้ในวันที่พายเรือพาศิษย์ส่งถึงฝั่งอย่างที่ตั้งใจ คงเป็นเพราะฉันเข้าใจเด็กว่า มีเด็กกลุ่มหนึ่งต้องการ ครู รอคอย ครู เพื่อที่เขาจะได้รับความรู้ ได้รับวิชามาต่อยอดชีวิต ซึ่งน่าเศร้าที่เด็กลุ่มนั้นไม่ได้เรียนเพราะมีแค่ไม่กี่เหตุผล คือไม่มีครู และไม่มีเงิน ฉันวางแผนชีวิตว่าฉันต้องไปสอบคณะครุศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งที่ปัตตานีให้ได้ และเมื่อเรียนจบฉันต้องไปสอนที่ไหนสักทีที่มันกันดานจริงๆ ไม่มีครูเข้าถึงมานาน ฉันตั้งเอาไว้สองที่หลักๆคือบนดอย และสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ฉันคิดไว้ตลอดว่าฉันจะขอเป็นครูอุทิศตนสอนเด็กที่ๆไม่มีโอกาส แม้ไม่มีเงินเดือนก็ยอม ในตอนนั้นยอมรับว่า ภาพที่ฉันร่างเอาไว้ ฉันลืมใส่อะไรบางอย่างลงไป….ฉันลืมนึกถึงครอบครัวของฉัน ….. […]

DSC_0276.jpg

ครูอาสาที่ราไวย์ จาก สัญจร 23

  “ ครูๆไปเล่นบอลกันครู” เสียงจากเด็กๆกลุ่มหนึ่งที่กำลังวิ่งซุกซนอยู่ริมชายหาดบ้านราไวย์ สถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของเมืองไทย    ท่ามกลางแสงแดดอันร้อนระอุริมชายทะเลอันดามัน เราหลายคนกำลังเดินชมวิวทิวทัดริมหาดราไวย์โดยมีเด็กๆในชุมชนวิ่งเล่นซุกซนอยู่เป็นกลุ่มๆในบริเวณใกล้ๆกัน โดยเด็กๆเหล่านั้นพยามชักชวนให้เราร่วมสนุกกับพวกเขาด้วย ทั้งๆที่เราก็เป็นแค่คนนอกที่เพิ่งเดินทางมาถึงสถานที่แห่งนี้ แต่เด็กๆก็ยินดีต้อนรับเราอย่างอบอุ่นและเรียกเราว่า “ครู” อย่างเต็มอกเต็มใจ   วันศุกร์ต้นเดือนเมษายน เดือนที่ขึ้นชื่อว่าร้อนที่สุดแห่งบ้านเมืองนี้ ได้มีคนจำนวนหนึ่งเดินทางจากหลากหลายสถานที่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย มารวมตัวกันอยู่ที่ บ้านราไวย์ จังหวัดภูเก็ต เขาเหล่านั้นบางคนเคยรู้จักสนิทสนมกันมาก่อน แต่ก็ยังมีอีกหลายคนเช่นกันที่ไม่รู้จักกันมาก่อนเลยรวมถึงอาจเป็นครั้งแรกของบางคนด้วยซ้ำที่ได้มาเยือนไข่มุกอันดามัน เขาทั้งหลายมุ่งหน้าสู่อันดามันในครั้งนี้ใช่เพื่อมาชมความงดงามของชายหาดหรือหมู่เกาะทั้งหลายเหล่าใด แต่คนเหล่านี้เดินทางมาด้วยเป้าหมายเดียวกัน เป้าหมายที่ใครหลายคนอาจไม่นึกไม่ฝันว่าจะได้ทำมันในครั้งหนึ่งของชีวิต นั่นคือการมาเป็นครูอาสา ในนามที่เรียกขานกันว่า “ครูบ้านนอก”   หลังจากการมาถึงภูเก็ตของเหล่าครูบ้านนอก ทุกคนก็ถูกนำมารวมกัน ณ ที่พักริมทะเลแห่งหนึ่งเพื่อแจ้งลำดับกิจกรรมและแบ่งกลุ่มครูอาสาตลอดถึงการรับประทานมื้อเที่ยงพร้อมๆกันก่อนเดินทางสู่หาดราไวย์ในยามบ่ายแก่ๆ เราออกเดินทางสู่หาดราไวย์กันด้วยรถส่วนตัวและรถโดยสารที่ทางทีมงานเหมากันไว้โดยมีครูอาสาโดยสารกันไปร่วมสามสิบชีวิต ในระหว่างเดินทางครูอาสาหลายคนก็เริ่มทำความรู้จักมักคุ้นกันตามอัธยาศัยและบางคนก็หันซ้ายแลขวาชมความเจริญของสองข้างทาง รวมทั้งหลายคนก็คงจะตื่นเต้นกับการที่จะได้เป็นครูครั้งแรกในชีวิต ถึงแม้ว่ามันเป็นแค่ช่วงเวลาสั้น ๆ ก็ตาม    เมื่อมาถึงหาดราไวย์เราทุกคนก็ได้นั่งล้อมวงกันใต้ต้นมะขามริมหาดราไวย์เพื่อรับฟังข้อมูลพื้นฐานและปัญหาต่างๆของชุมชนจากเจ้าหน้าที่ผู้ที่ทำงานอยู่ในพื้นที่ หลังจากนั้นเราทุกคนก็ถูกแบ่งเป็นกลุ่มๆเพื่อเข้าพักในที่พักซึ่งเป็นบ้านของพี่น้องชาวบ้านซึ่งเป็น ชาวเล๑ กลุ่มอูรักราโว้ย๒ ที่ตั้งบ้านเรือนอยู่กันอย่างหนาแน่นในพื้นที่จำกัด โดยแต่ละบ้านจะมีครูอาสาเข้าพักบ้านละ ๒-๖ คน ตามแต่ขนาดของบ้านที่เข้าพัก โดยครูอาสาทุกคนที่เข้าไปอยู่ในบ้านก็ได้รับการต้อนรับอย่างดีได้รับการดูแลดุจลูกหลาน    หลังจากนำข้าวของเสื้อผ้าเข้าสู่ที่พักและทำความรู้จักกับเจ้าของบ้านเรียบร้อยแล้วเราทุกคนก็เดินกลับมารวมกันที่ใต้ต้นมะขามซึ่งเปรียบดั่งศูนย์กลางของค่าย โดยที่จะมีการประชุมงาน ทานอาหาร นั่งพูดคุยหยอกล้อกัน […]

2.jpg

อุบัติทวิการณ์ชีวิตครูบ้านนอก

มูลนิธิกระจกเงา เป็นส่วนเติมเต็มของการศึกษาในพื้นที่ด้อยโอกาสและให้กับจิตอาสาด้วย เพราะการศึกษา คือ ‘บวร’ แปลว่า ความเจริญรุ่งเรื่อง ตามคำโบราณเป็นการย่อจากคำว่า ‘บ้าน วัด โรงเรียน’ กล่าวคือ การพัฒนาหรือสร้างคนจะเริ่มต้นที่บ้าน วัด และโรงเรียน มูลนิธิกระจกเงาเปรียบเสมือนทั้ง ‘บ้านกระจกเงา วัดกระจกเงา โรงเรียนกระจกเงา’ ที่จะขจัดความไม่เสมอภาคในโอกาส บ่มเพาะคุณธรรม และสร้างคุณภาพของการศึกษาให้ทุกคน ทุกชาติ ทุกภาษา