บ้านห้วยนากาด

ข้อมูลพื้นฐาน

ชุมชนบ้านห้วยนากาด

ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง”

บ้านห้วยนากาด

กศน.อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย

* ข้อมูลอัพเดท มีนาคม 2559  

  • ประวัติหมู่บ้าน

  บ้านห้วยนากาด เป็นชุมชนชาวไทยภูเขาเผ่าอาข่า กลุ่มอู่โล้อาข่า หรือ อาข่าไทย ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์อาข่าที่เข้ามาประเทศไทยเป็นกลุ่มแรก สาเหตุที่เรียกว่าอู่โล้อาข่า หมายถึง ชนเผ่าอาข่าหมวกหัวแหลม เป็นกลุ่มที่เด่นที่สุดในการใส่หมวกอาข่า การตั้งชื่อกลุ่มเป็นไปตามลักษณะการใส่หมวก และอู่โล้อาข่ายังเป็นกลุ่มอาข่าที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศไทย ชาวบ้านห้วยนากาดอพยพครอบครัวมาจากบ้านขาแหย่ง ต.แม่ค้า อ.แม่จัน จ.เชียงราย เข้ามาอาศัยอยู่ที่บ้านห้วยขี้เหล็ก ต.วาวี อ.แม่สรวย ได้ประมาณ 3 ปี แต่มีปัญหาเรื่องที่ทำกินไม่พอ ต่อมามีชาวบ้านประมาณ 3 -4 ครอบครัว ได้ไปสร้างที่ทำกินบริเวณพื้นที่ติดกับลำห้วยนากาด เห็นว่ามีชัยภูมิเหมาะสมที่จะตั้งเป็นชุมชนอยู่อาศัย ชาวบ้านกลุ่มแรกจำนวน 17 ครอบครัว “นายหลวง มาเยอะ” เป็นผู้นำได้ชวนกันย้ายจากบ้านห้วยขี้เหล็กเข้ามาตั้งชุมชน เมื่อปี พ.ศ. 2505 ตั้งชื่อชุมชนตามชื่อแหล่งน้ำว่า “บ้านห้วยนากาด” สำหรับ “ห้วยนากาด” นั้น เดิมชื่อ “ห้วยนากะ” เนื่องจากมีหญิงชาวลาหู่คนหนึ่งชื่อ “นากะ” หรือ ที่ชาวลาหู่เรียกว่า “นากะมา” ได้เสียชีวิตที่ลำห้วยแห่งนี้ คนทั่วไปจึงเรียกชื่อว่า “ห้วยนากะ” คำว่า “นากะ” หรือ “นากะมา” ในภาษลาหู่ แปลว่า “นางผีบ้า” เป็นคำที่ฟังไม่เป็นมงคลนัก จึงเรียกว่า “ห้วยนากาด” แทน ชาวชุมชน “บ้านห้วยนากาด” ดำเนินชีวิตตามวิถีชนเผ่าอาข่า ประชากรขยายตัวเพิ่มขึ้น มีชาวลาหู่ได้เข้ามาอาศัยอยู่ด้วย และอยู่กันอย่างสงบสุขเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน    

  • การปกครอง

  ชุมชนบ้านห้วยนากากเป็นบริวารของบ้านโป่งกลางน้ำ หมู่ที่12 ต.วาวี อ.แม่สรวย จ.เชียงราย อยู่ในเขตรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลวาวี  

  • อาณาเขต

  ทิศเหนือ ติดกับ บ้านบ่อแร่ ทิศใต้ ติดกับ ภูเขา พื้นที่ป่า บ้านเล็กในป่าใหญ่ ทิศตะวันออก ติดกับ บ้านโป่งกลางน้ำ ทิศตะวันตก ติดกับ บ้านขุนสรวย  

  • ศาสนา

  คนในชุมชนนับถือศาสนาคริสต์นิกายโปสเตสแตนท์ – นิกายโรมันคาทอลิก – ศาสนาพุทธและนับถือลัทธิดั้งเดิมที่มีการกราบเซ่นไหว้วิญญาณบรรพบุรุษแบบชนเผ่าอาข่า  

  • ลักษณะภูมิอากาศ

  ภูมิอากาศมี 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน ฤดูหนาว ซึ่งฤดูฝนจะตกชุกมาก ตกตลอดฤดูกาล ฤดูร้อนจะร้อนมากในเวลากลางวัน ส่วนตอนกลางคืนอากาศค่อนข้างเย็น ฤดูหนาวจะหนาวมากโดยเฉพาะเวลากลางคืน  

  • บ้านห้วยนากาดประชากร

  จำนวนหลังคาเรือน 81 หลังคาเรือน จำนวนครอบครัว 103 ครอบครัว จำนวนประชากรทั้งหมด 467 คน แยกเป็นชาย 231 คน แยกเป็นหญิง 236 คน ข้อมูลประชากร (แยกตามอายุ)

   อายุ เพศ 0-11 12-14 15-17 18-25 26-35 36-49 50-59 60 ปี ขึ้นไป รวม หมายเหตุ
ชาย 45 21 22 43 39 33 15 13 231  
หญิง 56 19 27 36 36 37 17 18 236  
รวม 101 40 49 79 75 70 32 31 467  

 

  • ข้อมูลสถานะบุคคล

 

    1. มีสัญชาติไทย จำนวน 418 คน
    2. ไม่มีสัญชาติไทย จำนวน 25 คน

2.1 มีชื่อในทะเบียนประวัติชุนชมบนพื้นที่สูง จำนวน 17 คน 2.2 มีชื่อทะเบียนแบบพิมพ์ประวัติบุคคลบนพื้นที่สูง จำนวน 8 คน

    1. ไม่มีหลักฐานใดๆ จำนวน คน
    2. ผู้มีบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน 272 คน
    3. ผู้มีบัตรสำรวจชุมชนบนพื้นที่สูง(เขียวขอบแดง) จำนวน 8 คน
    4. มีบัตรสำรวจชุมชนบนพื้นที่สูง จำนวน 17 คน
    5. ผู้มีบัตรอื่นๆ จำนวน คน

 

  • ข้อมูลหลักฐานทางทะเบียน

 

  1. มีทะเบียนบ้าน(ทร.14) จำนวน 78 คน
  2. มีทะเบียนบ้านแบบพิมพ์ประวัติบุคคลบนพื้นที่สูง จำนวน 7 คน
  3. มีทะเบียนประวัติชุมชนบนพื้นที่สูง จำนวน คน
  4. ไม่มีหลักฐานใดๆ จำนวน คน

 

  • อาชีพและรายได้

  อาชีพหลัก ทำนา  ทำไร่ อาชีพรอง รับจ้างทั่วไป อาชีพที่ทำรายได้ให้ครอบครัว ปลูกข้าว, ข้าวโพด, ทำไร่ขิง, สวนชา, หาของป่า รายได้เฉลี่ย / หลังคาเรือน ประมาณ 35,000 บาท/ปี รายได้เฉลี่ย / ครอบครัว ประมาณ 15,000 บาท/ปี รายได้เฉลี่ย / คน ประมาณ 15,000 บาท/ปี  

  • ผู้นำทางสังคม

  กำนัน จำนวน คน สารวัตรกำนัน จำนวน คน ส.อบต. จำนวน 1 คน ผู้นำหมู่บ้าน จำนวน 1 คน ผู้นำศาสนา จำนวน 3 คน(คริสต์)  

  • ข้อมูลเศรษฐกิจ

  แรงงาน

  1. แรงงานภาคเกษตร จำนวน 200 คน ค่าจ้างวันละ 200 บาท
  2. แรงงานภาคนอกเกษตร จำนวน 90 คน ค่าจ้างวันละ 250 บาท

 

  • ผลผลิตที่สำคัญ

 

  1. ข้าว
  2. ข้าวโพด
  3. ชา

 

  • การจัดสรรพื้นที่ชุมชน

 

  1. พื้นที่การเกษตร ประมาณ 1,800 ไร่
  2. พื้นที่เลี้ยงสัตว์ ประมาณ 1,000 ไร่
  3. พื้นที่แหล่งน้ำ ประมาณ 3 แหล่ง
  4. พื้นที่ป่าไม้ ประมาณ 1,000 ไร่
  5. พื้นที่สาธารณะ ประมาณ 5 ไร่
  6. พื้นที่สำคัญ ประมาณ 40 ไร่

 

  • การคมนาคม

  ถนนจากหมู่บ้านถึงอำเภอ 45 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์ประมาร 2 ชั่วโมง ประกอบด้วยบ้านห้วยนากาด

  1. ถนนลาดยางจาก กศน. อำเภอแม่สรวย ถึง บ้านโป่งกลางน้ำ ระยะทาง 40 กิโลเมตร
  2. ถนนจากบ้านโป่งกลางน้ำ ถึง บ้านห้วยนากาด ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร
  3. การสัญจรไปมาระหว่างหมู่บ้าน ถึง อำเภอ แม่สรวย ประกอบด้วย
  • การเดินเท้า
  • รถจักรยานยนต์
  • รถยนต์ของชาวบ้าน
  1. การสาธารณสุข สถานีอนามัย 1 แห่ง
  1. โรคที่พบ
  • โรคตาแดง
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • ไข้เลือดออก
  • นิ่วในไต
  • ท้องร่วง
  1. ส้วม จำนวน 61 หลังคาเรือน
  2. กองทุนยา จำนวน 1 แห่ง

 

  • งานประเพณีสำคัญของหมู่บ้าน

 

  1. ประเพณีทานข้าวใหม่
  2. วันคริสต์มาสชนเผ่า
  3. เทศกาลกินวอ
  4. ประเพณีโล้ชิงช้า
  5. ประเพณีปีใหม่ลูกข่าง
  6. ประเพณีปีใหม่ไข่แดง

แหล่งท่องเที่ยวหมู่บ้าน น้ำตกห้วยนากาด ข้อมูลสถานศึกษา

  1. ชื่อสถานศึกษา ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านห้วยนากาด
  2. ชื่อครูประจำหมู่บ้าน นางสาวกัญญาภัทธ  ปิงใจ

วุฒิการศึกษา ปริญญาตรี บริหารธุรกิจบัณฑิต(บธ.บ) มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง  วิชาเอก การจัดการท่องเที่ยว เมื่อปี พ.ศ. 2547 และวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย เมื่อปี พ.ศ. 2551 จำนวนผู้เรียน ผู้ใหญ่ จำนวน 36 คน ชาย 25 คน หญิง 11 คน นักเรียนสายสามัญ จำนวน 36 คน ระดับประถม จำนวน 13 คน ระดับมัธยม(ต้น) จำนวน 9 คน ระดับมัธยม(ปลาย) จำนวน 14 คน หลักสูตรที่ใช้ในการจัดการศึกษา หลักสูตรการเรียนเพื่อการรู้หนังสือ (ศศช) จำนวนผู้เรียน  10  คน ชาย 4 คน หญิง 6 คน หลักสูตร ศศช. จำนวนผู้เรียน ผู้ใหญ่  36  คน ชาย  25  คน หญิง  11  คน หลักสูตรสายสามัญทางไกล (ทก) จำนวน  0  คน ระดับประถม  0  คน ระดับมัธยม(ต้น)  0  คน การศึกษาตามอัธยาศัย จำนวน  0  คน   ชาย   0   คน หญิง  0  คน   ข้อมูลคณะกรรมการหมู่บ้าน

ลำดับที่ ชื่อ-สกุล ตำแหน่ง หมายเหตุ
1 นายอาโด๊ะ  ชือหมื่อ ผู้ใหญ่บ้าน/ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน  
2 นายวิเชียร  ชือหมื่อ กรรมการฝ่ายพัฒนา  
3 นายปรีชา  จูเปาะ กรรมการฝ่ายสวัสดิการสังคม  
4 นายอาโด๊ะ  ชื่อหมื่อ กรรมการฝ่ายการคลัง  
5 นายอาชา  อามอ กรรมการฝ่ายการศึกษา  
6 นายอาแป่ ชื่อหมื่อ กรรมการฝ่ายป้องกัน  
7 นายอาชา  อามอ กรรมการฝ่ายสาธารณสุข  
8 นายอาโด๊ะ  ชือหมื่อ กรรมการฝ่ายปกครอง  
9 นายอาชา  อามอ ผู้นำศาสนา  
10 นางสาวกัญญาภัทธ  ปิงใจ เลขาฯ  
11 นายอาแป่ ชื่อหมื่อ ส.อบต. หมู่ 12  

สภาพปัญหาและความต้องการของหมู่บ้าน

  1. ถนนเข้าหมู่บ้าน
  2. พื้นที่ทำการเกษตร
  3. สัญชาติไทย
  4. โครงการประปาภูเขา
  5. ไฟฟ้า(ภูมิภาค)

  ภูมิปัญญาชาวบ้านในหมู่บ้านห้วยนากาด

ลำดับที่ ชื่อ-สกุล ความรู้ความสามารถด้าน หมายเหตุ
1 นายมอดู  แลเชอ จักสาน  
2 นายอาจอง  ชื่อหมื่อ จักสาน  
3 นายอาเจอะ  มาเยอะ หมอบ้าน  
4 นายมอทู่  ชื่อหมื่อ หมอบ้าน  
5 นางหมี่จู  จูเปาะ ตัดเย็บเสื่อผ้า  
6 นายมอผ่า  ชื่อหมื่อ ช่างไม้- ช่างปูน  
7 นายอาชา  อามอ ช่างไฟฟ้า  
8 นายอามือ  ชื่อหมื่อ ช่างไม้- ช่างปูน  
9 นายอาโพ๊ะ  เมอแล นวดแผนโบราณ  
10 นายอาจอง  ชื่อหมื่อ ช่างตีเหล็ก  

  เครือข่ายใน / นอกพื้นที่

  1. หน่วยงานของภาครัฐระดับท้องถิ่น ( อำเภอ / จังหวัด )
      • ที่ว่าการอำเภอแม่สรวย
      • กศน.อำเภอแม่สรวย
      • กศน.จังหวัดเชียงราย
      • หน่วยมาลาเรียอำเภอแม่สรวย
      • เกษตรอำเภอ อำเภอแม่สรวย
      • ปศุสัตว์อำเภอ อำเภอแม่สรวย
      • โรงพยาบาลแม่สรวย
      • สำนักงานสาธารณสุขอำเภอแม่สรวย
      • สถานีตำรวจอำเภอแม่สรวย
  1. หน่วยงานระดับท้องถิ่น
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวาวี
  • สถานีอนามัยห้วยไคร้
  • สถานีทดลองเกษตรที่สูงวาวี
  • สถานีอนามัยโป่งกลางน้ำ สำนักงานป้องกันโรคติดต่อแมลงเป็นพาหะที่ 3
  • ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่12
  • ที่ทำการกำนันตำบลวาวี
  • โรงเรียนบ้านโป่งกลางน้ำ
  • โรงเรียนบ้านขุนสรวย
  1. หน่วยงานภาคเอกชน
  • มูลนิธิ พอ.สว.
  • มูลินิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย (อ.แม่สรวย)
  • PDA เชียงราย
  1. หน่วยงานพิเศษอื่นๆ
  • นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

  ข้อมูลสถานศึกษา ปรัชญา “ คิด  _ ทำ _ จำ  _ แก้  _ พัฒนา ” คิด หมายถึง มีกระบวนการคิดเป็น ทำ หมายถึง นำกระบวนการคิดเป็นมาปฏิบัติ จำ หมายถึง มีองค์ความรู้ความจำในสิ่งที่ได้เรียนรู้หรือร่วมกิจกรรมเพื่อนำเข้าสู่กระบวนการต่อไป แก้ หมายถึง มีกระบวนการแก้ปัญหาเป็น พัฒนา หมายถึง การนำองค์ความรู้ทั้งหมดมาพัฒนาตนเองและสังคม   คำขวัญ “ น่าอยู่    น่าดู    น่าเรียน ”   สีประจำสถานศึกษา สีแสด – เทา   วิสัยทัศน์ ในปี พ.ศ. 2561 ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอแม่สรวย จัดและส่งเสริม การศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย ให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายในอำเภอแม่สรวย ได้รับโอกาสทางการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอาชีพเพื่อการมีงานทที่มีคุณภาพ เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้จลอดชีวิตอย่างทั่วถึงอย่างมีคุณภาพ และครอบคลุมพื้นที่ ทุกกลุ่มเป้าหมาย และพื้นที่ในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในการเสริมสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิต และค่านิยม 12 ประกาศ แกประชาชน กลุ่มเป้าหมายย่างมีคุณภาพและครอบคลุมพื้นที่บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง ตามหลักปรัชญา  “ คิด   ทำ   จำ   แก้   พัฒนา ”   อัตลักษณ์ จิตอาสา  พัฒนาชุมชน   เอกลักษณ์ จัดการศึกษาคลอบคลุมทุกพื้นที่   พันธกิจ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอแม่สรวย

  1. จัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตลอดจนการศึกษาเพื่อการมีงานทำให้มีคุณภาพให้กับประชานกลุ่มเป้าหมายคลอบคลุมพื้นที่ทุกกลุ่มเป้าหมายและพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริอำเภอแม่สรวย
  2. ส่งเสริม สนับสนุนให้ภาคีเครือข่ายการมีส่วนร่วมในการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยและการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ
  3. ส่งเสริม สนับสนุนให้ชุมชนมีการจักกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
  4. พัฒนาครูและบุคลากรให้มีศักยภาพในการปฏิบัติงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยและการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ
  5. พัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยและการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ ให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีค่านิยมหลัก 12 ประการ ตามมาตรฐานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
  6. ส่งเสริมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่องเพื่อสนองตอบความต้องการเรียนรู้ของผู้เรียน
  7. นำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการบริหารองค์กร การจัดกระบวนการเรียนรู้และการให้บริการแก่ประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ

  กลยุทธ์ / แนวทางการดำเนินงาน กลยุทธ์ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอแม่สรวย มีดังนี้

  1. ลุยถึงที่ถึงถิ่นอย่างทั่วถึง (การเข้ากลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย)
  2. ตอบโจทย์ในใจผู้เรียน (ปรับวิธีการเรียนเปลี่ยนวิธีการสอนให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องของแต่ละกลุ่มเป้าหมาย)
  3. มีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย
  4. ผนึกกำลังภาคีเครือข่าย
  5. บริการเปี่ยมคุณภาพ

  เป้าประสงค์ / เป้าหมาย

  1. พัฒนาผู้เรียนให้มีกระบวนการคิดเป็น  ทำเป็น  แก้ปัญหาเป็น  มีความรู้  ความจำ  นำไปพัฒนาคุณภาพชีวิตตามค่านิยมหลัก 12 ประการ
  2. ผู้เรียนและผู้รับบริการได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพได้มาตรฐานตามอัตลักษณ์
  3. ประชาชนอำเภอแม่สรวยได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึงครอบคลุมและเป็นธรรม
  4. ชุมชนมีการจัดการความรู้และกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต
  5. ภาคีเครือข่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยและการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ
  6. สถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้นำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริการการเรียนรู้แก่ผู้เรียนผู้รับบริการและประชนอย่างมีประสิทธิภาพ
  7. แหล่งเรียนรู้มีอยู่อย่างทั่วถึงและได้รับการพัฒนาเพื่อตอบสนองความต้องการเรียนรู้ของประชาชน
  8. ประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายในอำเภอแม่สรวยได้รับบริการการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อมีนิสัยรักการอ่านและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
  9. หน่วยงานมีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและยึดหลักธรรมภิบาล

  ตัวชี้วัด

  1. จำนวนผู้รับบริการศึกษาขั้นพื้นฐานร้อยละ 80 ของผู้สำเร็จการศึกษานำวุฒิการศึกษา/ความรู้ไปใช้ในการศึกษาต่อ เลื่อนตำแหน่งงาน สมัครงาน
  2. ร้อยละ 80 ของผู้เรียน/ผู้สำเร็จการศึกษามีคุณธรรม จริยธรรม หรือคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามอัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนด
  3. ผู้เรียนร้อยละ 80 มีความพึงพอใจต่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ของครู กศน.
  4. จำนวนผู้เรียน/ผู้รับบริการร้อยละ 80 ของผู้รับบริการมีความพึงพอใจต่อการบริการงาน กศน.
  5. จำนวนภาคีเครือข่ายร้อยละ 80 มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยและการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ
  6. ร้อยละ 80 ของผู้เรียน/ผู้รับบริการงานการศึกษาต่อเนื่องพึงพอใจต่อการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ พัฒนาทักษะชีวิต พัฒนาชุมชนและสังคม
  7. การปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติการครบทุกพันธกิจและบรรลุเป้าหมายที่กำหนดอย่างน้อยร้อยละ 80
  8. รายงานผลการการดำเนินงานด้านประสิทธิภาพและด้านการพัฒนาองค์กรตามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีอย่างน้อยร้อยละ 80
  9. จำนวนผู้เรียน/ผู้รับบริการที่เข้าถึงและใช้บริการเครือข่ายความรู้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 80
  10. จำนวนแหล่งการเรียนรู้ร้อยละ 80 ที่มีความพร้อมในการให้บริการ
  11. ร้อยละ 80 ของผู้เรียน ผู้รับบริการมีความพึงพอใจมีนิสัยรักการอ่านและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
  12. จำนวนข้าราชการครู บุคลากรทางการศึกษา และครู กศน.ที่ได้รับการพัฒนาเกี่ยวกับการจักกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 20 ชั่วโมงต่อปี

Leave a Reply

scroll to top