image062.png

บ้านห้วยนากาด

ข้อมูลพื้นฐาน ชุมชนบ้านห้วยนากาด ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านห้วยนากาด กศน.อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย * ข้อมูลอัพเดท มีนาคม 2559   ประวัติหมู่บ้าน   บ้านห้วยนากาด เป็นชุมชนชาวไทยภูเขาเผ่าอาข่า กลุ่มอู่โล้อาข่า หรือ อาข่าไทย ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์อาข่าที่เข้ามาประเทศไทยเป็นกลุ่มแรก สาเหตุที่เรียกว่าอู่โล้อาข่า หมายถึง ชนเผ่าอาข่าหมวกหัวแหลม เป็นกลุ่มที่เด่นที่สุดในการใส่หมวกอาข่า การตั้งชื่อกลุ่มเป็นไปตามลักษณะการใส่หมวก และอู่โล้อาข่ายังเป็นกลุ่มอาข่าที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศไทย ชาวบ้านห้วยนากาดอพยพครอบครัวมาจากบ้านขาแหย่ง ต.แม่ค้า อ.แม่จัน จ.เชียงราย เข้ามาอาศัยอยู่ที่บ้านห้วยขี้เหล็ก ต.วาวี อ.แม่สรวย ได้ประมาณ 3 ปี แต่มีปัญหาเรื่องที่ทำกินไม่พอ ต่อมามีชาวบ้านประมาณ 3 -4 ครอบครัว ได้ไปสร้างที่ทำกินบริเวณพื้นที่ติดกับลำห้วยนากาด เห็นว่ามีชัยภูมิเหมาะสมที่จะตั้งเป็นชุมชนอยู่อาศัย ชาวบ้านกลุ่มแรกจำนวน 17 ครอบครัว “นายหลวง มาเยอะ” เป็นผู้นำได้ชวนกันย้ายจากบ้านห้วยขี้เหล็กเข้ามาตั้งชุมชน เมื่อปี พ.ศ. 2505 ตั้งชื่อชุมชนตามชื่อแหล่งน้ำว่า “บ้านห้วยนากาด” สำหรับ […]

Maekongsai.jpg

บ้านแม่คองซ้าย ต.เมืองคอง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่

บ้านแม่คองซ้าย ต.เมืองคอง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ชื่อหมู่บ้าน/ชุมชน บ้านแม่คองซ้าย หมู่ที่ ๑ ตำบล เมืองคอง อำเภอ เชียงดาว จังหวัด เชียงใหม่ ชื่อผู้นำชุมชน นายแก้ว คาติ จัดการระบบน้ำแบบเหมืองฝาย (ฝายปกาเกอะญอ) ใช้วัสดุธรรมชาติ กำหนดเขตป่าชุมชน ทำแนวกันไฟป่า ทำเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ ๑ กิโลเมตร ผลิตเพื่อยังชีพ หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรม ประเพณี เป็นเครื่องมือในการดำเนินการ   จำนวนประชากร ๑๑๘ คน จำนวนครัวเรือน ๒๕ หลังคาเรือน ระยะเวลาการตั้งถิ่นฐานของชุมชน ๑๕๐ ปี สภาพปัญหาของชุมชน การตัดทำลายป่าต้นน้ำโดยชุมชนที่อยู่รอบๆหมู่บ้าน       เป็นพื้นที่ทำกิน การหาปลาและสัตว์น้ำของชุมชนรอบข้างที่เป็นการหา กินอย่างไม่ยั่งยืน เช่น การเบื่อปลา ช๊อตปลา ระเบิดปลา การตัดไม้ไผ่เพื่อนำไปทำแพท่องเที่ยว บริเวณตลิ่งของแม่น้ำ การสร้างอ่างเก็บน้ำของหน่วยจัดการต้นน้ำขุนคอง ในบริเวณต้นน้ำแม่คอง ประกาศเขตป่าอนุรักษ์ทับที่ […]

666c4e858_m.jpg

บ้านพญาภิภักดิ์

บ้านพญาพิภักดิ์ หมู่ที่  5   ตำบลยางฮอม    อำเภอขุนตาล   จังหวัดเชียงราย ดอยพญาพิภักดิ์เป็นยอดภูเขาสูงที่มีทิวทัศน์สวยงาม บนยอดดอยสามารถมองเห็นทะเลหมอกตอนพระอาทิตย์ขึ้นในช่วงฤดูหนาวทางทิศตะวันออก ในวันที่ท้องฟ้าแจ่มใสสามารถมองเห็นภูชี้ฟ้าและผาตั้งได้อย่างชัดเจน และสามารถชมความสวยงามของแม่น้ำอิงได้ทางทิศตะวันตก และบริเวณดอยพญาพิภักดิ์และดอยขุนห้วยเจดีย์สภาพป่ายังอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญของแม่น้ำอิงและแม่น้ำหงาว มีพันธุ์ไม้หลากหลายชนิดควรค่าแก่การอนุรักษ์และศึกษาค้นคว้าทางวิชาการมีความสูงจากระดับน้ำทะเล  1,281   เมตร อีกทั้งยังเป็นสถานที่ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช สมเด็จพระ-นางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม -ราชกุมารี และพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลีพระวรราชาธินัดดามาตุ เพื่อทรงเยี่ยมทหารหาญและราษฎรในปี 2525 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาพระราชทานประทับรอยพระบาทของพระองค์ ลงบนแผ่นปูนพลาสเตอร์ที่ได้เตรียมไว้เพื่อเป็นมิ่งขวัญแก่ทหารหาญและราษฎรในพื้นที่ ณ สถานที่แห่งนี้ ซึ่งรอยพระบาทดังกล่าวเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนในเขตจังหวัด-เชียงรายเป็นอย่างมาก การเดินทาง  จากตัวเมืองจังหวัดเชียงราย เลี้ยวซ้ายตรงสี่แยกแม่กรณ์ไปตามทางหลวงหมายเลข ๑๒๐๘ แล้วเลี้ยวไปอำเภอพญาเม็งราย ตามทางหลวงหมายเลข ๑๑๕๒ ผ่านบ้านสบเปา-อำเภอพญาเม็งราย-บ้านต้า-อำเภอขุนตาล แล้วเลี้ยวขวาตรงหลักกิโลเมตรที่ ๙๐ ไปทางรพช. ชร. ๓๑๒๓ประมาณ6กม.ถึงบ้านพญาพิภักดิ์แยกเข้าไปดอยพญาพิภักดิ์ ประมาณ6กม.สุดท้ายจะเป็นภูเขาสูงชันขึ้นเขาอย่างเดียว  คนและรถจีงควรอยู่ในสภาพที่พร้อมจริงๆ จากคำบอกเล่าของพ่อหลวงทวี  ผู้ใหญ่บ้านชาวบ้านพญาภิภักดิ์เดิมทีอพยพมาจากประเทศจีน เมื่อประมาณปี   พ.ศ. 2480   และเป็นหมู่บ้านหนึ่งที่เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์  ต่อสู้กับรัฐบาล ตอนแตกเสียงปืนเมื่อ  พ.ศ.   2510 ที่นี่จึงมีหลุมบังเกอร์เป็นร่องรอยประวัติศาสตร์ให้เห็นอยู่ทั่วไป ปัจจุบันพญาพิภักดิ์เป็นหมู่บ้านเล็กๆของชนเผ่งม้ง  และเมี้ยน […]