ครูบ้านนอกรุ่นที่ 193 “ที่นี่..โพซอ” วันที่ 11-14 สิงหาคม 2560

กำหนดการครูบ้านนอก รุ่น 193
“วิถีปกากะญอ”
วันที่ 11-14 สิงหาคม 2560
บ้านโพซอ ต.เสาหิน อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน

กรอกฟอร์มสมัครเข้าร่วมกิจกรรม https://goo.gl/forms/MCQzsjJpGCsjCKh82

รายชื่อยืนยันโอนค่าลงทะเบียนแล้ว https://goo.gl/2f0njV

*กรุณาอ่านรายละเอียดกิจกรรม เงื่อนไข, ก่อนสมัคร/โอนค่าลงทะเบียน

วันศุกร์ ที่ 11 สิงหาคม 2560

7.30 – 08.45 น. ทีมงาน โครงการครูบ้านนอก มูลนิธิกระจกเงา รอรับอาสาสมัครครูบ้านนอกที่  ท่ารถอำเภอแม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน หรือสามารถติดต่อได้ที่ 0861816195 ขอสาย ครูแอน

หมายเหตุ……. เนื่องจากหมู่บ้านค่อนข้างไกล หากมาไม่ทันตามที่แจ้ง จะไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ สามารถมาพักที่ตัวอำเภอแม่สะเรียงได้ในกรณีที่เดินทางมาก่อนนะคะ

09.00 น. เราจะเดินทางเพื่อไปยังสถานที่ปฐมนิเทศ แยกย้ายทำธุระส่วนตัว ปฐมนิเทศ / กิจกรรมเช็คอิน ล้อมวงพูดคุยเกี่ยวกับกิจกรรม และจัดกลุ่มเข้าพักในบ้านของเด็ก ๆ หลังละ 2-3 คน รวมทั้งจัดกลุ่มทำกิจกรรมรอบกองไฟ (การแสดงแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม) ตอนกลางคืนในค่ำคืนสุดท้าย หลังชี้แจงกิจกรรมต่างๆ เป็นที่เรียบร้อย  รับประทานอาหารเที่ยงร่วมกัน

13.00 น. ออกเดินทางจากสถานที่ปฐมนิเทศ  มุ่งหน้าสู่หมู่บ้านโพซอ  ระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตร (ลาดยางบางช่วง  ลูกรังยาวนานกว่า  ทางราบบ้างทางดอยบ้างตามสภาพพื้นที่)

หมู่บ้านโพซอ ต.เสาหิน อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน

16.00 น. เดินทางถึงบ้านโพซอ  พบผู้นำชุมชน  คณะครูประจำการ  ชี้แจงรายละเอียดก่อนแยกเข้าบ้านพัก   กลับบ้านพร้อมเด็ก โดยเด็กจะเลือกครูเข้าบ้านและจะได้พบกับ แม่ พ่อ ของเด็ก ๆ บ้านที่คุณครูเข้าพัก 1 หลัง สำหรับคุณครู  2- 3 ท่านนะคะ คุณครูทำความรู้จักสมาชิกในครอบครัวที่เข้าพัก จากนั้นลงมือทำอาหารเย็น อาหารมื้อแรกของคุณครูได้เลยค่ะ

สำหรับในคืนแรกตอนค่ำหลังจากที่ทานข้าวเย็นแล้ว  จะมีกิจกรรมสันทนาการรอบกองไฟกับเด็ก ๆ และชุมชน ณ ลานหมู่บ้าน  (สถานที่นัดหมายอาจปรับเปลี่ยนตามสภาพอากาศ ณ วันนั้น ๆ )  จากนั้นจะเป็นเวทีการแนะนำประวัติหมู่บ้าน ถาม – ตอบ ข้อซักถามโดยผู้นำหมู่บ้าน  และประวัติความเป้นมาของโรงเรียนและการศึกษาของเด็กๆชายขอบในประเทศไทย

สรุปกิจกรรม  เตรียมกิจกรรมสำหรับวันพรุ่งนี้ สำหรับการสรุปงานนั้น เราจะมีการสรุปงานครูบ้านนอกกันทุกคืนค่ะ

วันเสาร์ ที่ 12 สิงหาคม 2560

8.00 น.- 12.00 น.   ครูและเด็ก ๆ พร้อมกันที่โรงเรียน  วันนี้เราจะร่วมกิจกรรมวันแม่ร่วมกับชุมชนและโรงเรียนในช่วงเช้า  

12.00 น. ทานอาหารกลางวัน (ครูบ้านนอกห่อข้าว) ร่วมกันกับเด็ก ๆ และชุมชน

13.00 น. – 15.00 น. กิจกรรมปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติร่วมกับโรงเรียนและชุมชน

15.00 – 17.30  น. รวมกลุ่มนักเรียนตามช่วงชั้นเพื่อทำกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการ  ไม่เน้นวิชาการมากจนเกินไปเพราะปกติเด็ก ๆ ได้เรียนรู้ในห้องเรียนปกติอยู่แล้ว   แต่ครั้งนี้โอกาสพิเศษจึงอยากให้คณะครูบ้านนอกงัดกิจกรรมการสอนแบบประยุกต์ตามไสตล์และความถนัดของแต่ละคนมาถ่ายทอดความรู้สู่เด็ก ๆ และกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน  โดยทีมอ่านสร้างชาติ

17.30  น. แดดร่มลมตก เด็ก ๆจะพาครูบ้านนอกเดินเที่ยวชมชุนชน โดยที่พวกเขาจะเป็นครูให้กับเรา เรียนรู้วิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายของชาวปกาเกอะญอ แยกย้ายทำภารกิจส่วนตัวและประกอบอาหาร

19.30 น. เจอกัน ณ ลานเพลิน  กับกิจกรรมรอบกองไฟ  กิจกรรมนิทานส่งเสริมการอ่าน  จากทีมอ่านสร้างชาติ  และกิจกรรมสานสัมพันธ์กลุ่มอาสาครูบ้านนอก สรุปวางแผนกิจกรรมสำหรับวันรุ่งขึ้น

22.00 น. แยกย้ายพักผ่อน

วันอาทิตย์ ที่ 13 สิงหาคม 2560

อาสาสมัครครูบ้านนอกตื่นเช้ารับวันใหม่ รับประทานอาหารเช้าให้เรียบร้อยก่อนเริ่มกิจกรรมในวันนี้

08.00  น. อาสาสมัครครูบ้านนอกเข้าแถวเคารพธงชาติพร้อมเด็ก ๆ ในโรงเรียน

08.30 น. คณะครูบ้านนอกพร้อมกัน  ณ  ใต้ถุนอาคารเอนกประสงค์ของโรงเรียน วันนี้เราจะจัดกิจกรรมกับเด็ก ๆในโรงเรียนโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่  (อาสาสมัครครูบ้านนอกท่านใดจะเตรียมขนมอุปกรณ์การเรียนมาเพื่อแจกเด็ก  สามารถทำได้นะคะ)  เช้านี้เราจะแบ่งนักเรียนและ อาสาสมัครครูบ้านนอกเป็น 3 ระดับ   

  1.  ระดับอนุบาล  สอนถามความถนัดและสมาธิของเด็ก ๆ และพลิกแพลงการเรียนการสอนได้ตามความถนัดและสถานการณ์
  2.  ระดับประถมศึกษา  เราจะทำกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน  ผ่านสื่อช่องทางต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นนิทาน  เรื่องเล่าจากประสบการณ์เด็ก  เป็นต้น   เพื่อสอนให้เด็กฝึกคิดและจินตนาการ
  3.  ระดับมัธยมศึกษา  เราจะทำกิจกรรมการเรียนการสอน  แนะแนวทาง  เสริมสร้างกำลังใจให้เด็ก ๆ มีแรงขับในการเรียนในระดับที่สูงขึ้น

12.00 น. รับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน

16.00 น. กิจกรรมกีฬาสัมพันธ์ จะมีการแข่งขันกีฬาสากล กีฬาพื้นบ้านและกีฬาฮาเฮ สำหรับครูบ้านนอกและเด็กๆกับชาวบ้าน  และจัดจำหน่ายหนังสือในราคาเล่มละ 1 บาทเพื่อนำรายได้ไปจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านในครั้งต่อไป

16.00 น. เข้าแถวเคารพธงชาติ  เลิกเรียน  สรุปกิจกรรมครูบ้านนอกสำหรับกิจกรรมที่ทำมาตลอดทั้งวัน   เสร็จภารกิจครูบ้านนอกแยกกลุ่มซ้อมการแสดง เนื่องจากค่ำคืนนี้ ทางชุมชนและโรงเรียนมีการแสดงมาแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับพวกเรา ครูบ้านนอกจะมีการแสดงทั้งหมด 4 ชุด สามารถคิดเผื่อและเตรียมตัวให้พร้อม

แยกย้ายกลับบ้านพัก เพื่อทำอาหารเย็นรับประทานร่วมกัน

18.30 น. ครูบ้านนอกพร้อมกันที่โรงเรียน/ ชุมชน  (นัดหมายอีกครั้งหนึ่ง) อาสาสมัครครูบ้านนอกสามารถหยิบยืมชุดแต่งกายของพี่น้องปกาเกอะญอ เพื่อร่วมพิธีมัดข้อไม้ข้อมือ เรียกขวัญและกำลังใจได้ในค่ำคืนนี้

19.30 น. กิจกรรมสันทนาการรอบกองไฟ ในคืนสุดท้ายชาวบ้านร่วมกันทำพิธีผูกข้อมือบายศรีอวยพร ครูบ้านนอกต้องนำเอาการแสดงที่เตรียมไว้มาโชว์ให้ชาวบ้านได้ดู

22.00 น. พิธีเทียนเปิดหัวใจอาสา แลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ผ่านมา

23.00 น. แยกย้ายพักผ่อน

 

วันจันทร์ ที่ 14 สิงหาคม 2560

8.00 น. คณะครูบ้านนอก พร้อมกันที่ลานหมู่บ้านเพื่อทำการล่ำลา ตัวแทนครูบ้านนอกกล่าวขอบคุณชาวบ้าน และเก็บเคลียสถานที่

10.00น. เดินทางจากหมู่บ้านโพซอ มาที่ อำเภอแม่สะเรียง

12:00 น. เดินทางถึงตัวอำเภอแม่สะเรียง รับประทานอาหารเที่ยงร่วมกัน

14:00 น. ส่งคณะครูบ้านนอกทุกท่าน ที่ท่ารถโดยสวัสดิภาพ

 

กรอกฟอร์มสมัครเข้าร่วมกิจกรรม https://goo.gl/forms/MCQzsjJpGCsjCKh82

รายชื่อยืนยันโอนค่าลงทะเบียนแล้ว https://goo.gl/2f0njV

สามารถโอนเงินยืนยันเข้าร่วมโครงการ ได้ที่…
ชื่อบัญชี “โครงการครูอาสา ” ธนาคารกรุงไทยสาขาห้าแยกพ่อขุน เม็งราย เลขที่บัญชี539-1-33371-7 บัญชีออมทรัพย์ จำนวน 3,550 บาท หลังจากโอนค่าลงทะเบียนแล้ว เขียนชื่อ เบอร์โทร ส่งเมลมาแจ้งยืนยันการโอน [email protected]   ( ค่าอาหารตลอดกิจกรรม ระหว่างกิจกรรม,ค่าเช่าเหมารถเข้าพื้นที่ ,ประกันเดินทาง,ของที่ระลึก 1 ชิ้น,การประสานงาน, อื่นๆ )

 

#เงื่อนไขการยกเลิก
1.กรณีท่านโอนค่าลงทะเบียนแล้ว ขอยกเลิก ทางโครงการฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการคืนค่าลงทะเบียน *
2.หากท่านไม่สามารถเดินทางมาร่วมกิจกรรมในรุ่นนั้นๆ ได้ สามารถเลื่อนไปในรุ่นถัดไป ได้ 1 ครั้ง ภายในปีนั้น (โปรด ระบุเดือนที่สามารถเข้าร่วมได้) ต้องแจ้งก่อนการเดินทางอย่างช้า 7 วัน หากแจ้งช้าถือว่าสละสิทธิ์
3.ถ้าท่านเลื่อนรุ่นแล้ว แต่ไม่ได้มา ถือว่าสละสิทธิ์
4.กรณี มีส่วนต่างของค่าลงทะเบียน ผู้สมัครต้องชำระเพิ่มตามยอดลงทะเบียนจริงในรุ่นนั้นๆ แต่จะไม่ได้รับหากมีส่วนต่างมากกว่ารุ่นที่เลื่อน
5.กรณีทางโครงการบอกยกเลิก กิจกรรม / โปรแกรม ทางโครงการฯจะคืนเงินที่ได้ชำระไว้แล้วให้ทั้งหมด

การเดินทาง
ครูบ้านนอกเดินทางมาเอง โดยทางทีมงานจะไปรอรับที่ สมบัติทัวร์สาขาแม่สะเรียง 

 

ข้อมูลชุมชน

 

บ้านโพซอ  ชุมชนปกากะญอ (กะเหรี่ยง) ในพื้นที่หมู่  5 ตำบลเสาหิน  อำเภอแม่สะเรียง  จังหวัดแม่ฮ่องสอน  เป็นชุมชนเล็ก ๆ ที่ยังไร้สัญญาณมือถือ   

 

ประวัติความเป็นมาของชุมชน

ชื่อเดิมคือ บ้านแม่แส่  ต่อมาศูนย์พัฒนาสังคมสงเคราะห์ชาวเขา  ได้ตั้งหมู่บ้านใหม่และตั้งชื่อเป็นหมู่บ้านโพซอ เมื่อ ปีพ.ศ. 2518   ผู้เริ่มก่อตั้งชุมชน คือ นายโพซอ โพธิ์หย่า  เมื่อประมาณ 60 กว่าปีมาแล้ว  ซึ่งเมื่อก่อนมีแค่  2 ครัวเรือนเท่านั้นที่อาศัยในหมู่บ้านนี้  คือครอบครัวนายโพซอ และครอบครัวนายจอมี (น้องชาย) โดยย้ายถิ่นฐานมาจากบ้านแพะ ตำบลบ้านกาศ  อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน  บ้านโพซอมี 2 หย่อมบ้าน ประกอบด้วย  1. บ้านโพซอ (บ้านหลัก)และ 2. หย่อมบ้านห้วยปลาฝา

 

สภาพทางภูมิศาสตร์ และการคมนาคม

สภาพพื้นที่เป็นหุบเขาติดแม่น้ำและมีภูเขาล้อมรอบ

–  ทิศเหนือ ติดเขตบ้านแม่เจ หมู่ที่ 4

–  ทิศใต้ ติดเขตป่าหมู่บ้านแม่ก๋อน

–  ทิศตะวันออก ติดป่า

–  ทิศตะวันตก ติดเขตบ้านอูหลู่ ตำบลแม่คง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

 

สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน

       เป็นพื้นที่ป่าและภูเขาล้อมรอบมีความอุดมสมบูรณ์พื้นที่หมู่บ้านอยู่ติดลำห้วยแม่แงะ มีพื้นที่ประมาณ 250 ไร่

 

ประชากร

  • ข้อมูลจากทะเบียนราษฎร์  ณ  เดือน เมษายน 2559    ชาย 264 คน    หญิง 260 คน    รวม 524 คน  จำนวน 140  ครัวเรือน
  •  

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ของชุมชนที่สำคัญ คือ

  1. วัดโพซอ สร้างโดยชุมชนร่วมกับศูนย์สงเคราะห์ชาวเขา พ.ศ. 2518
  2. เจดีย์ (พระธาตุ) สร้างโดยชุมชนโดยผู้นำคือนายโพซอ กับนายพะโหละโล เมื่อปี พ.ศ. 2515
  3. ศาลเจ้า สร้างโดยผู้นำคือหมอผีประจำหมู่บ้าน (นายหม่อนุ และนายพะนุเชอร์ เป็นผู้ช่วยหมอผี สร้างเมื่อ พ.ศ. 2484

 

วัฒนธรรมประเพณีของชุมชนที่สำคัญ คือ

  1. เลี้ยงผีฝาย ช่วงเดือนมิถุนายนของทุกปี
  2. เลี้ยงผีไร่ ตรงแปลงเพาะปลูก ก่อนเพาะปลูกต้องทำพิธีดูกระดูกไก่ ว่าข้าวจะดีหรือไม่ดี การทำข้าวไร่ หมุนเวียนประมาณ 7 ปี ต่อครั้ง
  3. การลงแขก การเอาวันหรือ (ช่วยกันทำงาน)
  4. ปีใหม่ (เรียกภาษากระเหรี่ยงว่า “หนี่ซอโข่” ) ช่วงเดือนมกราคม พิธีคือ ทำการมัดมือและหลังจากทำนาเสร็จก็จะมีการมัดมืออีกครั้ง ช่วงเดือนมกราคมของทุกปี (หรือภาษากะเหรี่ยงเรียกประเพณีนี้ว่า “ลาดุมู” โดยนำข้าวที่ได้มาทำเป็นเหล้า ทำพิธีด้วยไก่
  5. พิธีสู่ขวัญ หรือ (เกาะกาลา) จะทำช่วงเดือนกรกฎาคมของทุกปี
  6. พิธีสังขหะ (วอฮี่) หรือพิธีสะเดาะเคราะห์

 

อาชีพ

  1. ทำไร่เลื่อนลอย
  2. ทำนา
  3. ทำสวน
  4. เก็บหาของป่า
  5. รับจ้างทั่วไป

 

ภูมิปัญญาท้องถิ่น

  1. การทอผ้าประจำเผ่ากะเหรี่ยง หรือ (ปาเกอะญอ)

 

สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ

  1. สภาพพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์
  2. สภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงหรือปาเกอะญอ
  3. ถ้ำหินย้อยโพซอ

 

โรงเรียนบ้านโพซอ

โรงเรียนบ้านโพซอตั้งอยู่หมู่ที่ 5  ตำบล เสาหิน อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เดิมอยู่ในความรับผิดชอบของศูนย์พัฒนาชาวเขาจังหวัดแม่ฮ่องสอน ต่อมาเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2526  ได้โอนมาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการโดยมี นายสมจิตต์ เมืองเจริญ ครูคนแรกมีนักเรียน 26 คน ชาย 20 คน หญิง 6 คน

         ในปีการศึกษา 2540 ได้รับอนุญาตให้เปิดทำการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  และในเมื่อวันที่  16 พฤษภาคม 2551   สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีได้มีพระดำริให้จัดตั้งห้องเรียนเคลื่อนที่ที่บ้านอูหลู่ใต้ เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาให้แก่เด็กด้วยโอกาสที่อยู่ตามแนวตะเข็บชายแดนมีนักเรียน จำนวน ๖๐ คน โดยเปิดทำการสอน ๒ ชั้น คือ ชั้นอนุบาลปีที่ ๑ และ ประถมศึกษาที่ ๑ มีครูพี่เลี้ยงจ้างโดยเงินพระราชทานของมูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ครูที่ไปทำงานการสอนคือ นายวิเชษฐ์ อัมพรงามสง่า และ นางสาวอนงค์นาถ อมรประสาน

         ปัจจุบันมี นายก่อเกียรติ  สอนสอาด   ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโพซอ  ขณะนี้มีบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 37 คน ประกอบด้วยข้าราชการครู 23  คน เป็นชาย 8 คน หญิง 15  คน พนักงานราชการ 1 คน เป็นหญิง 1 คน  ครูอัตราจ้าง 10 คน เป็นชาย 3 คน   หญิง 7 คน ครูพี่เลี้ยง 1 คน เป็นชาย – คน หญิง 1 คน นักการภารโรงจ้างเหมา เป็นชาย  1 คน   มีห้องเรียนทั้งสิ้น  18  ห้องเรียน   

นักเรียนจำนวนทั้งหมด  380 คน    ไม่รวมห้องเรียนสาขาอูหลู่และห้องเรียนสาขากองสุม  ที่มีนักเรียน  รวม  62  คน  ประกอบด้วย  ระดับชั้น อนุบาล1- 2    จำนวน  25 คน   ระดับชั้น ป.1  จำนวน  27 คน    ระดับชั้น  ป.2  จำนวน  19  คน   ระดับชั้น  ป.3   จำนวน  18 คน  ระดับชั้น  ป.4   จำนวน  23 คน   ระดับชั้น  ป. 5   จำนวน  37  คน   ระดับชั้น  ป.6  จำนวน  24  คน   ระดับชั้น  ม.1  จำนวน  43 คน   ระดับชั้น  ม2/1   จำนวน  35  คน   ระดับชั้น  ม.2/2   จำนวน  36  คน   ระดับชั้น  ม.3/1   จำนวน  34  คน   ระดับชั้น  ม.3/2   จำนวน  24  คน

ระดับชั้น  ม.4  จำนวน  26  คน   ระดับชั้น  ม.5  จำนวน  4  คน

………………………………………………

 

 

scroll to top