ถาม&ตอบ ครูบ้านนอก

ครูบ้านนอก…

จุดเริ่มต้นของโครงการครูบ้านนอกเกิดจากอะไร?

เป็นพื้นที่เปิดโอกาสให้กับคนเมือง มาเรียนรู้ มาทำกิจกรรมกับคนที่อยู่บนดอยเพื่อที่ว่าจะเกิดการแลกเปลี่ยน วัฒนธรรม เรื่องของความคิด เรื่องทุกสิ่งทุกอย่าง เมื่อก่อนคนในเมืองจะไม่ค่อยรู้เรื่องราวของคนบนดอย ส่วนใหญ่จะรู้ตามผ่านสื่อผ่านข่าว ดูจากทีวีบ้าง อ่านหนังสือบ้าง เมื่อก่อนไม่ได้ชื่อครูบ้านนอก แต่เป็นครูอาสา คนอาสามาทำกิจกรรมกับเด็กๆ เพื่อที่จะได้ไปสัมผัสกับชุมชน นอกจากเด็กๆจะได้รู้วิถีวัฒนธรรมของเด็กๆของชาวบ้าน มันเป็นแบบนี้นะ สิ่งที่เขาเห็นกับสิ่งสัมผัสคือคนละแบบ ซึ่งการที่ได้มาเห็นตรงนั้นจะได้สัมผัสและเข้าใจมากกว่าผ่านสื่อโดยตรง และสร้างมุมมองเรื่องของทัศนคติควาทคิดให้มันดีขึ้นเปลี่ยนจากที่เขาเคยมอง มันเป็นอย่างนี้นะ … แต่ว่าที่จริงแล้วมันเป็นแบบนี้โดยที่เอาตัวเองเข้าไปสัมผัสพื้นที่หรือชุมชนโดยตรง

ครูบ้านนอกหมายถึงใคร เป็นอย่างไร?

ครูบ้านนอกอาจจะเป็นตัวคน เป็นครูที่ไปสอนเด็กๆหรือให้ความรู้ชาวบ้านในมุมในด้านต่างๆ อีกส่วนหนึ่งคือชาวบ้านเองหรือเด็กๆเองที่เขาเป็นครู เพราะว่าพี่คิดว่าคนทุกคนมันไม่ได้รู้ทุกเรื่องราว ครูบ้านนอกก็คือคนในเมืองเขาอาจจะรู้ข้อมูลหรือว่าอะไรที่มันเกี่ยวกับเมืองเกี่ยวกับเทคโนโลยี องค์ความรู้ต่างๆที่มีอยู่ในเมือง แต่ว่าบางทีทักษะชีวิตอะไรต่างๆ เขาอาจจะไม่รู้หลายคนมาเขาก็ไม่รู้ แล้วครูที่จะสอนเขาก็จะเป็นเด็กๆเป็นชาวบ้าน จะเป็นครู ต่างคนต่างเป็นครู ไม่ได้จำกัดว่าคนมาต้องเป็นครู

คำว่า บ้านนอกหมายความว่าอะไร?

เป็นพื้นที่ให้คนกลุ่มหนึ่งมาเรียนรู้ซึ่งกันและกัน อาจจะไม่ใช่การสอนแบบสอนในห้องเรียนแต่อาจจะเป็นเรื่องราวของการสัมผัสประสบการ์ณตรง คำว่า บ้านนอกความบริสุทธิ์เรื่องของวิถีชีวิตที่ไม่เจือปนกับความศรีวิไลข้างนอกเท่าไหร่ ไม่ได้หมายถึงวัตถุนะ ความเจริญมีได้แต่ยังคงสิ่งเดิมไว้ที่ยังมีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของวัฒนธรรม ภาษาเรื่องของการแต่งกาย อะไรพวกนี้ที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน บ้านนอกไม่ได้ขึ้นอยู่กับระยะทาง แต่วัดที่โอกาสบางทีในเมืองก็ใช่ว่าจะดีเสมอไป เช่น สลัม หรือพื้นที่ที่มีปัญหา

เรามีวิธีการเลือกอย่างไร? ในการทำกิจกรรม กับพื้นที่ต่างๆ

อันที่หนึ่ง ครูบ้านนอกเวลาไปมันเป็นพื้นที่ที่เราว่าเราเลือกก็ไม่ใช่ … บางทีชุมชนก็เลือกเรานะ เช่นว่าชาวบ้านเห็นเราไปทำที่อื่นมันเป็นอย่างนี้นะ ก็มาชวนเราไปให้ไปทำที่หมู่บ้านของเขา แต่ว่าหลักๆในการเลือกพื้นที่ ชุมชนเขามีความพร้อมที่จะต้อนรับแบบว่าให้พวกเราไปอยู่ที่บ้านมั้ย เพราะว่าครูบ้านนอกเราจะให้ครูอาสาไปอยู่กับชาวบ้านกับชุมชนเราไม่ได้ไปอยุ่เกาะกลุ่มกันที่เดิม กินอยู่ด้วยกันอะไรงี้ ถ้าชาวบ้านมีความพร้อมให้ครูอาสาไปอยู่ได้อันนี้คือระดับหนี่งเราคิดว่าชุมชนนั้นพร้อมที่จะให้ครูบ้านนอกจะเช้าไปแล้ว

อันที่สองดูว่ามีอะไรที่น่าจะที่ทำครูบ้านนอกจะเข้าไปทำได้บ้างมั้ย ไม่ใช่จะเข้าไปเที่ยวเนอะแต่ว่าเข้าไปแล้วจะต่อยอดกิจกรรมได้ในอนาคต เช่น เราไปหมู่บ้านที่ทำกาแฟ จริงๆครั้งแรกเราก็สนใจชุมชนนะ เพราะว่าเราสนใจว่ามีความเข้มแข็ง ที่จะตั้งกลุ่มอะไรขึ้นมาได้ อันนี้เราเห็นล่ะ สิ่งต่อมาก็คือเราเข้ามาแล้วมันน่าจะมีอะไรมาให้เราทำต่อในระยะยาว หลังจากที่เราคุยกับชุมชนเขามีความต้องการแบบนี้นะ แต่เขาไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นยังไง เหมือนทำผลิตภัณฑ์ โปรดักของตัวเองทำโฮมสเตย์อะไรพวกเนี่ย ซึ่งเขามีทรัพยากรเขามีกิจกรรมแต่เขาไม่มีคนมากรุ๊ปมาชี้แนะ ว่าควรจะทำยังไงจะเริ่มยังไง อย่างบ้านผาแดงชาวบ้านอยากจะทำเขามีความพร้อมทั้งด้านของกิจกรรม เรื่องของชุมชนแต่ว่า เขาจะมีปัญหาเรื่องของใช้สื่อมั้ง การใช้สื่อในการทำให้มันเกิดขึ้น ซึ่งครูบ้านนอกก็จะตอบโจทย์คนที่เขาไปก็จะมีความสามารถในเรื่องอขงการใช้สื่อ การใช้เทคโนโลยีในเรื่องของการช่วยโปรโมท ช่วยทำและก็บางคนก็เป็นคนที่ทำสาขานั้น พอเข้าไปเห็นมันก็จะตรงกับสิ่งที่เขาสนใจ เราก็แค่ไปจับคู่เขาอะไรประมาณนี้

อะไรเป็นแรงบันดาลใจ เป็นตัวกระตุ้นที่ทำให้พี่ต้นซุงมาทำงานส่วนนี้..

ความสุข! ความสุขที่เรายังได้ทำ อีกเรื่องก็คือจะเป็นเรื่องของการที่เราได้เห็นคนใหม่ๆ เข้ามาทำกิจกรรมแบบคนที่มีความตั้งใจอยากจะทำ แล้วได้ทำสิ่งที่เขาตั้งใจไว้ เราก็รู้สึกว่า เวลาเขาได้ทำสมหวังเหมือนเขาอยากจะทำ เรารู้สึกดีที่เห็นเขาได้ทำและเขาก็สมหวังอย่างตั้งใจ เพราะว่าบางคนก็..ก็มีหลายคนนี่แหละ บางคนไม่กล้ามากล้าๆกลัวๆแต่พอได้มาก็รู้สึกว่ามันสมใจที่เขาอยากมาทำนะ เราเห็นแล้วก็มีความสุข ก็มีความสุขกับเขาทำให้เราอยากทำหรือมีความสุขกับสิ่งที่เราทำ

คนแบบไหนที่มาครูบ้านนอก แล้วพวกเขาเหล่านั้นได้อะไรกลับไป..

อันที่หนึ่ง กินง่ายอยู่ง่าย ปรับตัวเข้ากับชุมชนได้ ทิ้งมือถือได้ ไม่ใช่ว่าไม่มีไฟฟ้าไม่มีสัญญาณโทรศัพท์แล้วไปไม่ได้ ไม่ได้จำกัดวุฒิการศึกษาหรืออายุเป็นเด็กก็มาได้ ถือว่าเป็นการศึก การเปิดโอกาสให้ทั้งผู้ปกครองและก็เด็กมาสอนลูกของตัวเองอย่างนี้มันดีนะ และก็มาสอนที่มันเป็นวิถีชีวิตที่เด็กๆจะสัมผัสได้โดยไม่มีการปรุงแต่ง ถ้าอยู่ในเมืองใช่มั้ยที่แบบจะดูแลลูกแบบดีมาก ไม่กล้าให้ลูกลำบาก ไม่กล้าปล่อยลูก แต่ว่าบางทีคนที่มาอย่างนี้พ่อแม่ก็จะเห็นลูกของชาวบ้าน ชาวบ้านเลี้ยงลูกยังไงบางทีมันก็ทำให้มุมมองของผู้ปกครองเปลี่ยนไปและก็ได้คลุกคลีกับชุมชนที่เป็นวัยของเขาแบบธรรมชาติจริงๆ

อย่างน้อยนะพี่คิดว่าสิ่งที่เขาจะได้ไป เป็นเรื่องของมิตรภาพระหว่างคนที่มาด้วยกันเองเพราะว่าคนที่มาแบบนี้ มีใจที่พร้อม ทุกคนพร้อมที่จะมาทำแล้ว แต่ว่าบางทีมันก็กระจายไปอยู่ที่ต่างๆเวลาเขามาอย่างน้อยเขาได้สังคม ได้กลุ่มคนที่แบบมีจิตอาสามีหัวใจเหมือนกัน มีสิ่งที่อยากจะทำบางสิ่งบางอย่างเหมือนกัน เรื่องที่สองน่าจะได้เกี่ยวกับสัมผัสวิถีของชุมชนของกลุ่มคน เพราะบางคนโดยส่วนใหญ่ตั้งใจอยากจะให้อย่างนั้นอย่างนี้นะ มาให้นะ แต่สุดท้ายแล้วหลายคนก็บอกว่าสิ่งที่เขาให้อะนิดเดียว นิดเดียวถ้าเทียบกับสิ่งที่เขาได้รับกลับไปจากชุมชน อาจจะไม่ใช่สิ่งของนะ อาจจะเป็นเรื่องของความคิดเรื่องของมิตรภาพ เรื่องของหลายสิ่งหลายอย่าง กลายเป็นว่าบางครั้งเขาไม่ได้มาเยียวยา ได้มาเยียวยาบางสิ่งของตัวเองบางคนเพราะว่าอาจจะมีปัญหามา แต่ถ้าว่ามาอย่างนี้ทำให้เขารู้สึกผ่อนคลายรู้สึกมีความสุขกับกิจกรรมเหมือนสโลแกนของเรา ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งแบ่งปันยิ่งได้รับ

ยุคสมัยเปลี่ยน คนเปลี่ยน แล้ววิธีการทำงานของครูบ้านนอกอดีตกับปัจจุบันแตกต่างกันไหมอย่างไร

มีการปรับเปลี่ยนตามยุคสมัย ในยุคแรกๆ เราจำทำเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก เพราะการศึกษายังไม่สามารถเข้าถึงได้ทั่วถึง แล้วเราก็เอาครูบ้านนอกไปเสริมไปทำกิจกรรมให้เขาได้เปิดโลก ให้เขาได้เรียนรู้อะไรมากขึ้น หลังๆ เรื่องของการศึกษาก็ครอบคลุมไป รัฐบาลจัดสรรให้ครบพื้นที่มีทั้ กศน สพฐ ก็ครบเนอะ ในปัจจุบันไม่ได้ทำงานกับเด็กเท่านั้น แต่ยังสามารถทำงานกับชุมชน กับชุมชนจะป็นเรื่องของอาชีพ หรือสาธานูปโภค ซึ่งก็ปรับปามพื้นที่ เมื่อก่อนเราจะเน้นเป็นพวกของการศึกษาเป็นนามธรรม เราคิดว่าวันหนึ่งความเจริญก็เปลี่ยนไป เรื่องของโรงเรียนก็ข้ามาเยอะข้น เราเข้าชุมชน เด็กส่วนใหญ่ก็ไปอยู่ในเมือง ก็จะเหลือเด็กเล็ก ๆ อาศัยอยู่กับผู้สูงอายุ ซึ่งเราก็คิดว่าเขาสามารถเข้าถึงการศึกษาแล้วในระดับหนึ่ง เราก็ไปดูว่าแล้วเราจะไปทำอะไรกับชุมชนได้บ้าง ในเมื่อเด็กได้เข้าถึงการศึกษาหมดแล้ว

เราเข้าชุมชนไม่ได้ไปเพื่อสอนหนังสือให้เด็กรู้เยอะๆ แต่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้เขา กระตุ้นให้เขากล้าแสดงออก มั่นใจในตัวเอง ภาคภูมิใจในภาษา วัฒนธรรมของตัวเอง และมีความสุขกับกิจกรรม

เป้าหมายสูงสุดของกิจกรรมนี้คืออะไร?

อยากให้คนหนึ่งที่อยากจะมาทำอะไรดี ๆ เพื่อสังคมบางคนอาจจะคิดว่าจะมาสอนหนังสือแค่ 3-4 วันก็จะไม่ได้อะไรถ้าให้เขามาแล้วเขารู้สึกว่าสิ่งเล็ก ๆ เป็นประโยชน์กับชุมชนหรือว่าสังคมเพราะว่าบางทีความต้องการของชุมชนมีแต่ว่าเขาอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยไม่ต้องทำก็ได้แต่ถ้าอยู่อีกที่หนึ่งที่มีคนต้องการมันมีค่าสำหรับคนในชุมชนเขาจะเกิดความภาคภูมิใจในตัวเองถ้าเกิดว่ามันมีประโยชน์จริง ๆ ในสิ่งที่เขาทำ 

เป้าหมายหลักสำคัญ 3 อย่างคือ การสร้างบรรยากาศการเรียนการสอน การเรียนรู้ทั้งสองทาง ครูอาสา และเด็กๆ, การสร้างแรงบันดาลใจให้กับพวกเขา และการเรียนรู้วัฒนธรรมที่แตกต่างกัน

มีอะไรอยากฝากในเรื่องนี้บ้าง

การมาทำค่ายอาสาบางคนอาจจะคิดว่าไม่มีเงินมาไม่ได้ ไม่มีเวลาหลายวันไปไม่ได้  ข้ออ้างเหล่านี้ไม่สามารถนำมาเป็นเหตุผลในการทำงานอาสา เพียงแต่เรามองไกลเกินไปจริง ๆ ต้องถามว่าตัวเองต้องการทำไปเพื่ออะไร เช่น ถ้าอยากเป็นครูสอนหนังสือก็ไม่จำเป็นว่าครูจะต้องไปสอนเด็กบนดอย ดูรอบ ๆ ว่าเราสามารถสอนอะไรได้บ้าง ทำอะไรเพื่ออะไร และเราสามารถทำอะไรได้บ้างไม่ต้องไปตั้งข้อจำกัดเรื่องเงินไม่มีเรามาสำรวจตัวเองว่ามีอะไรจะให้เขาได้ การให้มันไม่ใช่เพียงสิ่งของเงินทอง แต่เป็นความสามารถของเราต่างหาก ถ้าพร้อม ถ้าเรามีเราก็สามารถให้ได้ตลอด